ประเทศ จีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง | ||
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ |
เครื่องปันดินเผาหยางเชา
เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน
อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่า จิ๋นซีฮ่องเต้ กำแพงเมืองจีน ทหารจีนตุ๊กตาดินเผา ภายในสุสานสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ มณฑลซีอาน |
|
|
||
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค | ||
|
||
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้ | ||
|
||
จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์ | ||
อนุสรณ์สถานประธานเหมา เจ๋อตุง
|
อนุสาวรีย์วีรชนปฏิวัติของจีน ประธาน เหมา เจ๋อตุง |
|
ศิลปวัฒนธรรมของจีน | ภาพวาดพระถังซำจั๋ง เส้นทางสายไหม พระราชวังต้องห้าม อุทยานภายในพระราชวังฤดูร้อน |
|
|
||
การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ | ||
อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป
อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา
อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป
ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี
และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง
ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ
ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับ
วัฒนธรรมจีนโดยตรง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญ ที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำ อารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง
พัฒนาการอารยธรรมจีน
พัฒนาการอารยธรรมจีน ด้านการเมืองการปกครอง มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้
1. ระบบกษัตริย์
เชื่อว่าจักรพรรดิเป็น “ โอรสแห่งสวรรค์ ” มีอำนาจเด็ดขาด
แต่พระมหากษัตริย์ที่ไม่อาจปกครองให้เกิดความสงบสุข เที่ยงธรรม
ก็อาจมีการยึด อำนาจเปลี่ยนผู้ปกครองได้
2. ระบบศักดินาเริ่มต้นใน “ ราชวงศ์โจว ” จักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ แต่ตอบแทนขุนนางด้วยการมอบที่ดินให้แต่ขุนนางต้องนำผลผลิตมาถวายกษัตริย์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดสงคราม 3. สมัยจักรวรรดิเริ่มต้นใน “ ราชวงศ์ฉิน ” จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงรวบรวมจีนเป็นจักรวรรดิมีอำนาจเด็ดขาดควบคุมดูแลดินแดนโดยตรง แต่ปกครองด้วยการยึดหลักกฎหมาย 4. ระบบสาธารณรัฐชาติตะวันตกต้องการขยายอิทธิพลในจีน ทำให้เกิด ความกดดันการเมืองภายในการเกิดสงครามฝิ่น ระหว่างจีนกับอังกฤษ จีนแพ้ต้องทำ “ สนธิสัญญานานกิง ” จีนต้องเปิดเมืองท่าให้ชาวต่างชาติเข้าอยู่อาศัยและทำการค้า จีนต้องยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษทำการเช่า และยังเกิดปัญหามากมาย ดร.ซุนยัตเซ็น ก่อการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู จัดตั้ง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยให้ ยวน ซีไข ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดย เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย “ ก้าวกระโดดไกล ” ผู้นำคนต่อมาคือ เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบายพัฒนาประเทศ ที่เรียกว่า “ นโยบายสี่ทันสมัย ” ซึ่งจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ
1. พื้นฐานเศรษฐกิจจีนโบราณ เป็นเกษตรกรรม
2. สมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้เกิด “ เส้นทางสายไหม ” ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากจีน ไปอินเดีย อียิปต์ และโรม 3. คริสต์ศตวรรษที่ 19 เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย “ ก้าวกระโดดไกล ” แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ 4. ยุค เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบาย “ สี่ทันสมัย ” คือ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใน ประเทศ มีลักษณะผ่อนปรนมากขึ้นทำให้จีนเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
ด้านสังคมวัฒนธรรม
1.สังคมจีน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแยกเป็นชนชั้น ดังนี้
* ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน
เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมี
คุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน
ยกเว้นภาษี มีชีวิตสะดวกสบาย
* ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม สมัยราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร * ชนชั้นพ่อค้าและทหารตามความคิดของขงจื๊อชนชั้นนี้ไม่น่ายกย่องเพราะมิใช่ เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัย
2. ครอบครัวจีน
สังคมจีนยุคแรกสร้างอารยธรรม
ถือว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด ผู้นำครอบครัว คือ บิดา
ผู้นำครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัว
และรับผิดชอบต่อราชการ เช่นการเกณฑ์ทหาร การเสียภาษี
คนในครอบครัวจึงต้องให้ความเคารพยำเกรงผู้นำครอบครัว
นอกจากนี้คนในครอบครัวผู้น้อยต้องเคารพผู้อาวุโส
3. ประเพณีและความเชื่อ
คนจีนแต่โบราณจะเคารพบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนในตระกูลที่เสีย
ชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าธรรมชาติ ในสมัยราชวงศ์ชาง
มีประเพณีการใช้ “ กระดูกเสี่ยงทาย ”
โดยการเขียนตัวอักษรบนกระดูกวัวหรือสัตว์ชนิดอื่น หรือบนกระดองเต่า
เพื่อทำนายเกี่ยวกับการสร้างเมือง การสงคราม และเรื่องอื่น ๆขงจื๊อ
ได้วางหลักปฏิบัติต่อครอบครัว พิธีกรรม ปรัชญาและจริยศาสตร์ เช่น
การใฝ่หาความรู้ ความกตัญญู ความจงรักภักดี
คุณธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างลึกซึ้ง
4. ศิลปะและหัตถกรรม
ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
ช่างจีน มีฝีมือในการแกะสลักหยก
5. ภาษาและวรรณกรรม
การพบกระดูกเสี่ยงทายที่มีตัวอักษรจารึก
ทำให้ทราบว่าในสมัยราชวงศ์ชางมีภาษาเขียนใช้แล้ว เรียกว่าอักษรภาพ
วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจื๊อ
วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์)
บันทึกโดยสื่อหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น
|
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
อารยธรรมจีนโบราณ
อารยธรรมจีนโบราณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น