ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450
เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์เศษภักดี
ศรีสัตยาวัตตาพิริยพาหะ ( ทองดี ธรรมศักดิ์ ) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์
และได้สมรสกับคุณหญิงพะงา เพ็ญชาติ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์
ธรรมศักดิ์ กับนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์
1.ชีวิตการศึกษา
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เมการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ขณะที่อายุได้ 11 ปี
บิดาก็เสียชีวิตลง
ทำให้ชีวิตที่ราบเรียบสุขสบายเปลี่ยนไปได้รับความยากลำบาก
เพราะขาดหัวหน้าครอบครัว ซึ่งในระหว่านี้ก็ได้มีพระอรรถกฤคินิรุตติ์ ( ชม
เพ็ญชาติ )เข้ามาให้ความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ในทุกๆด้าน
เมื่อ ท่านเรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
คุณหญิงชื้นผู้เป็นมารดาก็นำไปฝากฝังไว้กับเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (
ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์ )
ผู้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมระท่านจึงได้ทำงานเป็นนักเรียนล่ามประจำ
กระทรวง และได้เข้าเรียนวิชากฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
ระหว่างนั้นก็ได้อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร และได้ศึกษาพระธรรมวินัย
จนสอบไล่นักธรรมตรีได้ที่ 1
หลังจากจบการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
ก็ได้สอบชิงทุน “รพีบุญนิธิ” ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักกฎหมาย The
Middle Temple ประเทศอังกฤษ ตามหลักสูตร 3 ปี แต่ท่านใช้เวลาศึกษาเพียง 2
ปี 3 เดือน ก็สำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2476
2. ชีวิตการทำงาน
หลังสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
สัญญาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด
จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามลำดับ
ขณะ ที่ท่านรับราชการอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม
นอกจากท่านจะใช้วิชาความรู้ทางด้านกฎหมาย
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว บทบาทที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่ง
ก็คือบทบาททางด้านศาสนาโดยได้ร่วมก่อตั่ง “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย”
ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างข้อบังคับของสมาคม
จนได้จดทะเบียนตั้งเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2476
หลัง จากเกษียณอายุราชการแล้ว
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 18
มิถุนายน พ.ศ. 2511 และได้รับเชิญให้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2514
ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งได้พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร
และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการหาอุปกรณ์ต่างๆ
ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมายเช่น
จัดตั้งคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน เป็นต้น
ใน ขณะที่ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้เกิดความไม่สงบทางการเมืองขึ้น
มีการเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาและได้เกิดการปะทะกัน
ระหว่างรัฐบาลกับนิสิตนักศึกษา
จนเกิดจลาจลขึ้นในบริเวณกว้างและกลายเป็นโศกนาฏกรรมวันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 ทำให้จอมพลถนอม กิติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้
ศาตราจารย์สัญญา ธรรม ศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.
2516 ขณะดำรงตำแหน่งท่านก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างประนีประนอม
และได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
เพราะถูกกดดันจากฝ่ายต่างๆซึ่งเรียกร้องให้ทำในสิ่งที่กลุ่มของตนต้องการ
และเปิดทางให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเลือกนายกรัฐมนตรีที่พอใจ
อย่างไรก็ตาม การลาจากตำแหน่งนายกรัฐมลตรีก็มีผลอยู่ 2 วัน
เท่า นั้น เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติให้เลือกศาสตราจารย์สัญญา
ธรรมศักดิ์ เป็นนายก อีกครั้งหนึ่ง
ฃึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้รับบริหารราชการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ ธรรม ศักดิ์
ก็ได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมากเป็นอเนกอนันต์ เช่น
การออกกฎหมายปฎิรูปที่ดินและพระราชบัญิญัติว่าด้วยการเช่านา
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ชาวนา
การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมการผู้ใช้แรงงาน
ด้วยการออกกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และการปฎิรูปการศึกษา
เริ่มนโยบายพึ่งพาการส่งออกและการนำเข้ามากขึ้น
เพื่อสนับสนุนการลงทุนให้หยั่งรากเติบโตขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย
พร้อมกับสนับสนุนส่งเสริมระบบสหกรณ์ตามแนวพระราชดำริทำให้ระบบเศรษฐกิจพึ่ง
พาตนเองของประชาชนเจริญเติบโตขึ้น และ
ที่สำคัญได้แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤตมิชอบใน
วงราชการ (ป.ป.ป.)
ขึ้นและได้ออกกฎหมายรับรองสถานะต่อมาจนได้เป็นของคณะกรรมการปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ป.)
ดังที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้
รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2418หลังจากการเสร็จสิ้นการมอบหมายงานให้กับ ม.ร.ม. เสนีย์ ปราโมช
หัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายก
รัฐมลตรี ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้เป็นองค์มลตรีในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 จนถึง
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ก็ได้รับมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้เป็นประธานองมลตรีตลอดมา
3. ศาสนา งานด้านพระศาสนา
ศาสตราจารสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นผู้ใส่ใจพุทธศาสนามาตังแต่รุนหนุ่ม
และเป็นผู้ศึกษาถึงพุทธรรมอย่างลึกฃึ้ง โดยได้อุทิศตน
ให้เก่งงานพระพุทธศาสนามายาวนานกว่า 40 ปี
ท่านได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนขององ๕สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา
จากท่านเจ้า
คุณพระเทพมุนีแห่งวัดเบณจมบพิตร ทั้งได้มีโอกาสสนทนาธรรม และศึกษา
พระพุทธนาธรรมอย่างกว้างขวาง กับท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แห่ง
วัดสวนโมกขพลาราม
จนเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านทุ่มเทการทำงานให้กับพุทธมาคมแห่งประเทศไทยอย่าง
เต็มที่และเป็นที่ได้รับบทบาทต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนาโดยได้ดำรงตำแหน่ง
นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
และเป็นองค์การพุทธศาสนาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง 15 ปี
ซึ่งตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่อง๕การพุทธ
ศาสนาเป็นอเนกประการ
ทำให้องค์การพุทธศาสนาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกเป็นปึกแผ่นมั่นคงและวัฒนาถาวร
เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธ
ศาสนิกชนทั่วโลกอย่างสมบูรณ์ จนได้รับเหรียญเชิดชูเกรียติ ชั้นที่ 1
ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปี ขององค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์โลก เมื่อวันที่ 6
ธันวาคม พ.ศ. 2543 ในฐานะบุคคลผู้คุณูปกรแก่องค์การพุทธศาสนา
ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวพุทธทั่วโลก
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.L. 2545 สิริรวมอายุได้ 94 ปี
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
แม้จะเป็นลูกพระยา แต่เมื่อสิ้นบิดา
ชีวิตก็ลำบากมีแม่คนเดียวิที่จะมาเกื้อหนุน
มีพี่ชายคนโตฃึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ ฃึ่งจะหวังเป็นที่พึ่งพาให้ได้
แต่พี่ชายก็มาเสียชีวิตขณะท่านเรียนอยู่ต่างแดนโชคดีที่ครอบครัวคหบดีฃึ่ง
เป็นศิษย์ของบิดาท่านให้ความอนุเคราะห์
สนับสนุนให้เรียนและเข้าทำงาน ต่อมาท่านได้ทุน “รพับุญนิธิ”
ไปศักษาวิชากฎหมายยังประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นทุนที่เอาดอกผลจากนูลนิธิมาใช้
ท่านจึงได้เงินใช้จ่ายประจำเดือนน้อยกว่านักเรียนทุนคนอื่นๆ
ความจำกัดด้านทุนจึงกลายเป็นแรงขับที่สำคัญทำให้ท่านได้ใฝ่เรียนมากขึ้น
เมื่อไม่ได้เที่ยวสนุกสนานกับคนอื่น
เพราะเงินไม่มีก็เข้าห้องสมุดอ่านตำราด้วยความวิริยอุตสาหะจนสามรถสอบเป็น
เนติบัณฑิตอังกฤษได้ในเวลาเพียง 2 ปี 3 เดือน ของหลักสูตร 3 ปีเต็ม
ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของท่านได้ติดตัวมาตลอด
จนในภายหลังได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดคนหนึ่ง
2. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที
ในช่วงที่ตกยากเพราะสิ้นบิดานั้นพระยาอรรถกฤตินิรุตติ์ ( ชม เพ็ญชาติ)
ซึ่งเป็นศิษย์ของบิดาที่ได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้เรียนและให้ทำงาน
ท่านถือว่าชีวิตของท่านนอกจากแม่แล้วยังมีท่าสนผู้นี้เป็นผู้มีความอุปการ
คุณจึงมีความรู้ศึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างมาก
เมื่อมีโอกาสสนองคุณท่านก็ยินดีทำเต็มความสามารถ
อาจารย์สัญญาได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ท่าน
เจ้าคุณอรรถกฤตินิรุตติ์เป็นผู้เดียวที่หมั่นมาเยี่ยมเยียนถามทุกข์สุข
และให้กำลังใจแกแม่และข้าพเจ้า
และในที่สุดท่านก็เป็นผู้ชักนำและรับรองให้ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนวิชากฎหมาย
เมื่ออายุ 18 ปี
และได้อบรมสั่งสอนให้กำลังใจตลอดมาจนข้าพเจ้าไต่เต้าเป็นตัวเป็นตนมาจนถึง
วันนี้
3. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต อาจารย์
สัญญาเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุจริตเนื่องจากท่านได้รับการหล่อหลอมโดยสาย
เลือดจากบิดาผู้เป็นนักกฎหมายที่ซื่อสัตย์
ยุติธรรมตลอดถึงแบบอย่างที่ดีจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีบุญคุณ เช่น
พระยาอรรถกฤตินิรุตติ์ผู้มีพระคุณทำให้ท่านเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์
สุจริต ยุติธรรมยิ่งชีวิต รับราชการเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ
ที่ยึดมั่นในคุณธรรมจนปรากฏแก่สายตาของสังคม ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “
ความดีนั้นไม่ใช่สิ่งที่หายากเลย ไม่ต้องไปมองหาที่ไหน หาที่ตัวเราเอง
ความดีทั้งหลายอยู่ที่ตัวเรานั่นแหละ”
4. เป็นผู้ใฝ่ธรรม ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี
ได้สัมผัสกับความร่มเย็นแห่งพระธรรมลาสิขามาแล้วก็ใส่ใจศึกษาธรรมตลอดเวลา
และได้ศึกษาธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุแห่งวัดสวนโมกขพลาราม
นับเป็นผู้รู้ธรรมะลึกซึ้งและปฏิบัติตามได้คนหนึ่ง
ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
และประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง 15 ปี
และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติชั้นที่ 1 ( WFB GRAND MERIT MEDALA )
ในฐานะบุคคลผู้มีคุณูปการแก่องค์การพระพุทธศาสนา
5. เป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
อาจารย์สัญญาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
มิใช่จงรักภักดีแต่เพียงในใจเหมือนพสกนิการอื่นๆ
แต่มีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
ได้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีและประธานองคมนตรีโดยลำดับเป็นเวลานานถึง 30 ปี
ได้ใช้ความรู้ความสามารถสนองพระเดชพระคุณใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างถวายชีวิต
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ดังประจักษ์พยานหลักฐานจากจดหมายของดร. เชาน์ ณ ศีลวันต์
ถึงอาจารย์สัญญาว่า “กระผมได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระ
ตำหนักจิตรลดา
มีเรื่องหนึ่งที่สั่งให้กระผมเชิญพระราชกระแสรับสั่งมายังท่านประธานว่า
ที่อาจารย์สัญญาทำงาน (รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ) มาโดยตลอด
ยังไม่เคยทำอะไรผิดพลาดบกพร่องแม้แต่ครั้งเดียว”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น